วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 6 วันที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ.2554

ลักษณะของเด็กปฐมวัย
-วัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น
-วัยที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาสูงที่สุด
-แสวงหาความรู้ความสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้
1.ความหมายของทักษะการสังเกต
การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ
-สังเกตรูปร่างทั่วไป
-สังเกตควบคู่กับการวัดปริมาณ
-การสังเกตเพื่อรู้ถถึงการเปลี่ยนแปลง
2.ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
ความสามารถในการแบ่งประเภทต่างๆ(โดยตั้งเกณฑ์การแบ่ง และนำสิ่งนั้นไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์)
-ความเหมือน
-ความแตกต่าง
-ความสัมพันธ์ร่วม
3.ความหมายทักษะการวัด
การใช้เครื่องมือวัดหรือหาปริมาณ โดยมีหน่วยกำกับ
แบบเป็นทางการ เช่น ไม้บรรทัด ตลับเมตร
แบบไม่เป็นทางการใช้สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น ใช้แขน ขา มือ วัดความยาว
-รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
-การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
-วิธีการที่เราจะวัด
4.ความหมายทักษะการสื่อความหมาย

เป็นการสื่อสาร ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ เช่น การพูด การเขียน วาดรูป และแสดงท่าทางสีหน้า
-บรรยายความหมายและคุณสมบัติของวัตถุ
-บันทึกการเปลี่ยนแปลงได้
-บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ(ระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน)
-จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น แผนภาพ กราฟข้อมูล
5.ความหมายทักษะการลงความเห็นของข้อมูล
คือการสรุปจากที่เราจดบันทึกแล้วแสดงความคิดเห็นลงไปโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
6.ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
คือการรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติการเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดขึ้นบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย
7.ความหมายทักษะการคำนวณ
ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก การคูณ การหาร การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
-การนับจำนวนของวัตถุ
-การบวก ลบ คูณ หาร

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 5 วันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ.2554

วันนี้มีการนำเสนองานและการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- เพื่อนออกมานำเสนอรายงานเรื่องหลักการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
บรรยากาศ:อาจารย์แนะนำเรื่องการนำเสนองานควรนำเสนอแบบแปลกใหม่ มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจในประเด็นนั้นๆ และกระบวนการนำเสนอควรเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
กระบวนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
การหาวัสดุอุปกรณ์ คือครูผู้สอนควรจัดลำดับขั้นความสำคัญของการหาวัสดุอุปกรณ์ดังนี้
ขั้นที่ 1 ต้องให้เด็ดเห็นของจริง
ขั้นที่ 2 ต้องให้เด็กเห็นของจำลอง
ขั้นที่ 3 ต้องให้เด็กเห็นรูปภาพ ภาพวาด
ขั้นที่ 4 ต้องให้เด็กเห็นตัวหนังสือเป็นลำดับสุดท้าย

ถ้าการหาวัสดุอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ควรใช้เป็นภาพเพราะเด็กจะเข้าใจง่ายกว่าตัวหนังสือ
การดำเนินกิจกรรม(เป็นลำดับขั้นตอน)
1.ตั้งสมมติฐาน(เด็กตั้งสมมติฐานได้ครูตั้งคำถามต่อเด็ก)
2.การทดลอง
3.จดบันทึกผล
4.สรุปผล
5.นำผลไปเทียบเคียงกับสมมติฐาน
สรุป:การทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์กระบวนการแรกเด็กตั้งสมมติฐานจากการที่ครูตั้งคำถาม และทดลองเป็นการลงมือปฏิบัติ จากนั้นจดบันทึกผล สรุปผลและนำผลไปเทียบเคียงกับสมมติฐานทำให้เด็กได้ข้อเท็จจริง ได้ข้อความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากการสังเกต

ครั้งที่ 4 วันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2554

วันนี้นำเสนองาน Power point เรื่องจิตวิทยาการเรียนรู้
นำเสนองานกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เรื่องขวดเป่าลูกโป่ง
เด็กได้เรียนรู้ว่าสิ่งสองสิ่งทำปฏิกริยาต่อกันจนทำลูกโป่งโตขึ้น
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์:ถ้าจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก อาจนำน้ำอัดลมใส่ลูกอมลงไปเกิดการกัดกร่อน จนลูกอมหายไปเพียงแค่ไม่กี่นาทีมาทดลองให้เด็กๆดู ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเด็กโดยตรงเพราะลูกอมเปรียบเสมือนกระเพาะของคนเราถ้าเด็กกินน้ำอัดลมมากก็จะกัดกระเพาะและทำให้ฟันผุได้เพราะน้ำอัดลมมีน้ำตาลมาก ซึ่งเด็กจะได้ข้อความรู้เกี่ยวกับโทษของน้ำอัดลม
บรรยากาศในห้องเรียน:วันนี้รู้สึกเครียดเนื่องจากงานที่นำเสนอเรื่องจิตวิทยาการเรียนรู้ไม่สามารถเปิด Power point ได้ และกลุ่มไม่ได้เตรียมความพร้อมมาจึงไม่สามารถสรุปงานได้ แต่ได้ข้อเสนอแนะจากอาจารย์จึงเป็นแนวทางในการปรับปรุงและเตรียมงานครั้งต่อไป

คร้งที่ 3 วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2554

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การฝึกฝนให้เด็กมีโอกาสได้ทำกิจกรรม จนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต การแสดงปริมาณ การจำแนกประเภท การสื่อความหมาย การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสเวลาเป็นต้น