วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 16 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ 2554

วันนี้อาจารย์สรุปความรู้ทั้งหมด












ครั้งที่ 15 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2554

วันนี้อาจารย์ให้ส่งแผนการจัดประสบการณ์ กลุ่มของดิฉันเขียนแผนเรื่อง หอย
องค์ประกอบของการเขีนยแผนมีดังนี้
วิธีการ 1.ศึกษาจากหลักสูตร
2.สาระที่ควรรู้
- ใกล้ตัวเด็ก
- มีผลกระทบต่อเด็ก
3.ผ่านกิจกรรมเสริมประสบการณ์
วัตถุประสงค์
1.เด็กสามารถบอกชื่อ บอกลัษณะของสิ่งนั้นๆได้
2.เด็กบอกลำดับขั้นตอน ของสิ่งนั้นๆได้
3.เด็กบอกประโยชน์ของสิ่งนั้นๆได้
สาระที่ควรรู้ คือ เนื้อหาสาระของเรื่องที่เราจะสอน

ประสบการณ์สำคัญ
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนกประเภท
-ทักษะการวัด
-ทักษะการสื่อความหมาย
-ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
-ทักษะการหาความสัมพัธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
-ทักษะการคำนวณ
กิจกรรม
-ขั้นนำ
-ขั้นสอน
-ขั้นสรุป
สื่อ/อุปกรณ์
การประเมินผล
-การสังเกต
-การสนทนาซักถาม
-ชิ้นงานของเด็ก
-จัดแฟ้มสะสมงาน
-นำไปเทียบกับเกณฑ์พัฒนาการว่าเด็กทำได้ไหม

ครั้งที่ 14 วันที่ 13 กันยายน พ.ศ 2554

วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ยกตัวอย่างการเขียนแผนเรื่อง เห็ด

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 12 วันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2554

วันนี้ส่งงานการทำโครงการ
อาจารย์ให้ดุซีดีเรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ: ความรู้ที่ได้วันนี้
น้ำ เป็นส่วนประกอบของร่างกาย อากาศมีความเกี่ยวข้องกับร่างกายเพราะเนื่องจากอากาศร้อนมากทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมากดังนั้นเราควรดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้วต่อวัน
สิ่งมีชีวิตต่า ๆ ในโลกมีส่วนประกอบของน้ำหรือไม่
วิธีการทดลอง
1.หาผลไม้พืชผักต่าง ๆ เช่น แอปเปิ้ล แครอท
2.นำมีดมาหันผลไม้เป้นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใช้เครื่องบดให้ละเอียด
3.แล้วลองบีบดูจะเห็นว่าน้ำออกมาจากผลไม้
จะเห็นได้ว่า น้ำจะมีส่วนประกอบในสิ่งมีชีวิต ร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ 70 % ผักและผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 90 % ดังนั้นถ้าคนขาดน้ำจะทำให้รางกายอ่อนเพลีย
ฝนตกจะเกิดจากอะไร
คุณสมบัติของน้ำมี 3 ประการ คือ
1.ของแข็งคือ น้ำแข็ง
2.ของเหลวคือ น้ำที่เราดื่มและใช้อาบทุกวัน
3.ก๊าซคือ ไอน้ำ
น้ำสามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว จากของเหลวกลายเป็นไอ จากไอกลายเป็นของเหลว
วิธีการทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำ
1.เริ่มแรกต้มน้ำแข็งให้เดือด น้ำแข็งจะละลายกลายเป็นของเหลว
2.ต้มต่อไปจนมีไอขึ้นมา จากนั้นก็เอาจานใส่น้ำแข็งมาวางไว้บนน้ำที่เราต้มระยะห่างพอสมควร
จะเห็นได้ว่าการเกิดฝนมีลักษณะเหมือนกับการทดลอง ฝนก็คือไอน้ำที่เระเหยขึ้นไปบนอากาศ รวมตัวกันกลายเป็นก้อนเมฆและตกลงมาเป็นฝนสู่พื้นดิน
แอ่งน้ำที่เกิดขึ้นหลังฝนตกแห้งได้อย่างไร
วิธีการทดลอง
1.นำน้ำที่มีปริมาตรเท่ากัน 2 แก้ว
2.แก้วที่ 1 เทลงใส่จาน
แก้วที่ 2 เทลงใส่จาน
3.นำไปตากแดดจะเห็นว่าน้ำในจานแห้งเกือบหมด แต่ในแก้วลดลงนิดเดียว
ดังนั้นแอ่งน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อหลังฝนตกจะแห้งไปเมื่อโดนความร้อนของแสงแดด
ธรรมชาติของน้ำ
เมื่อนำกลายเป็นน้ำแข็งจะขยายตัว 12 %

วิธีการทดลอง
1.นำน้ำใส่ลงในแก้วไม่ต้องเต็ม เอากระดาษปิดไว้
2.เมื่อนำไปแช่ในตู้เย็นจะเห็นว่ากลายเป้นน้ำแข็งเต็มแก้วเพราะน้ำแข็งมีโมเลกุลน้อยกว่าน้ำหรือน้ำมีโมเลกุลหนาแน่นกว่าน้ำแข็ง
แรงดันของน้ำ
วิธีการทดลอง
1.เจาะรูที่ขวด 3 รูระดับไม่เท่ากันแล้วเอาเทปกาวแปะไว้
2.จากนั้นเอาน้ำใส่ให้เต็มขวด แล้วเปิดรูที่เจาะไว้ จะเห็นได้ว่าน้ำจากรูด้านล่างจะพุ่งแรงสุดเนื่องจากความกดดันของน้ำด้านบนกดลงมา
จากการทดลอง น้ำที่อยู่ด้านล่างจะถูกกดดันจากน้ำด้านบน ถ้าเราอยู่ในน้ำที่ลึกมากความกดดันจะยิ่งมากขึ้น

คร้งที่ 11 วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2554