วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 16 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ 2554

วันนี้อาจารย์สรุปความรู้ทั้งหมด












ครั้งที่ 15 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2554

วันนี้อาจารย์ให้ส่งแผนการจัดประสบการณ์ กลุ่มของดิฉันเขียนแผนเรื่อง หอย
องค์ประกอบของการเขีนยแผนมีดังนี้
วิธีการ 1.ศึกษาจากหลักสูตร
2.สาระที่ควรรู้
- ใกล้ตัวเด็ก
- มีผลกระทบต่อเด็ก
3.ผ่านกิจกรรมเสริมประสบการณ์
วัตถุประสงค์
1.เด็กสามารถบอกชื่อ บอกลัษณะของสิ่งนั้นๆได้
2.เด็กบอกลำดับขั้นตอน ของสิ่งนั้นๆได้
3.เด็กบอกประโยชน์ของสิ่งนั้นๆได้
สาระที่ควรรู้ คือ เนื้อหาสาระของเรื่องที่เราจะสอน

ประสบการณ์สำคัญ
-ทักษะการสังเกต
-ทักษะการจำแนกประเภท
-ทักษะการวัด
-ทักษะการสื่อความหมาย
-ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
-ทักษะการหาความสัมพัธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
-ทักษะการคำนวณ
กิจกรรม
-ขั้นนำ
-ขั้นสอน
-ขั้นสรุป
สื่อ/อุปกรณ์
การประเมินผล
-การสังเกต
-การสนทนาซักถาม
-ชิ้นงานของเด็ก
-จัดแฟ้มสะสมงาน
-นำไปเทียบกับเกณฑ์พัฒนาการว่าเด็กทำได้ไหม

ครั้งที่ 14 วันที่ 13 กันยายน พ.ศ 2554

วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ยกตัวอย่างการเขียนแผนเรื่อง เห็ด

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 12 วันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2554

วันนี้ส่งงานการทำโครงการ
อาจารย์ให้ดุซีดีเรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ: ความรู้ที่ได้วันนี้
น้ำ เป็นส่วนประกอบของร่างกาย อากาศมีความเกี่ยวข้องกับร่างกายเพราะเนื่องจากอากาศร้อนมากทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมากดังนั้นเราควรดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้วต่อวัน
สิ่งมีชีวิตต่า ๆ ในโลกมีส่วนประกอบของน้ำหรือไม่
วิธีการทดลอง
1.หาผลไม้พืชผักต่าง ๆ เช่น แอปเปิ้ล แครอท
2.นำมีดมาหันผลไม้เป้นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใช้เครื่องบดให้ละเอียด
3.แล้วลองบีบดูจะเห็นว่าน้ำออกมาจากผลไม้
จะเห็นได้ว่า น้ำจะมีส่วนประกอบในสิ่งมีชีวิต ร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ 70 % ผักและผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 90 % ดังนั้นถ้าคนขาดน้ำจะทำให้รางกายอ่อนเพลีย
ฝนตกจะเกิดจากอะไร
คุณสมบัติของน้ำมี 3 ประการ คือ
1.ของแข็งคือ น้ำแข็ง
2.ของเหลวคือ น้ำที่เราดื่มและใช้อาบทุกวัน
3.ก๊าซคือ ไอน้ำ
น้ำสามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว จากของเหลวกลายเป็นไอ จากไอกลายเป็นของเหลว
วิธีการทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำ
1.เริ่มแรกต้มน้ำแข็งให้เดือด น้ำแข็งจะละลายกลายเป็นของเหลว
2.ต้มต่อไปจนมีไอขึ้นมา จากนั้นก็เอาจานใส่น้ำแข็งมาวางไว้บนน้ำที่เราต้มระยะห่างพอสมควร
จะเห็นได้ว่าการเกิดฝนมีลักษณะเหมือนกับการทดลอง ฝนก็คือไอน้ำที่เระเหยขึ้นไปบนอากาศ รวมตัวกันกลายเป็นก้อนเมฆและตกลงมาเป็นฝนสู่พื้นดิน
แอ่งน้ำที่เกิดขึ้นหลังฝนตกแห้งได้อย่างไร
วิธีการทดลอง
1.นำน้ำที่มีปริมาตรเท่ากัน 2 แก้ว
2.แก้วที่ 1 เทลงใส่จาน
แก้วที่ 2 เทลงใส่จาน
3.นำไปตากแดดจะเห็นว่าน้ำในจานแห้งเกือบหมด แต่ในแก้วลดลงนิดเดียว
ดังนั้นแอ่งน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อหลังฝนตกจะแห้งไปเมื่อโดนความร้อนของแสงแดด
ธรรมชาติของน้ำ
เมื่อนำกลายเป็นน้ำแข็งจะขยายตัว 12 %

วิธีการทดลอง
1.นำน้ำใส่ลงในแก้วไม่ต้องเต็ม เอากระดาษปิดไว้
2.เมื่อนำไปแช่ในตู้เย็นจะเห็นว่ากลายเป้นน้ำแข็งเต็มแก้วเพราะน้ำแข็งมีโมเลกุลน้อยกว่าน้ำหรือน้ำมีโมเลกุลหนาแน่นกว่าน้ำแข็ง
แรงดันของน้ำ
วิธีการทดลอง
1.เจาะรูที่ขวด 3 รูระดับไม่เท่ากันแล้วเอาเทปกาวแปะไว้
2.จากนั้นเอาน้ำใส่ให้เต็มขวด แล้วเปิดรูที่เจาะไว้ จะเห็นได้ว่าน้ำจากรูด้านล่างจะพุ่งแรงสุดเนื่องจากความกดดันของน้ำด้านบนกดลงมา
จากการทดลอง น้ำที่อยู่ด้านล่างจะถูกกดดันจากน้ำด้านบน ถ้าเราอยู่ในน้ำที่ลึกมากความกดดันจะยิ่งมากขึ้น

คร้งที่ 11 วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2554























วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 9 วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2554

วันนี้ได้ศึกษาจากวิดีโอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่องความลับของแสง
ความลับของแสง
"ฝนตกหนักมองอะไรข้างนอกไม่เห็น ไฟดับก็จะไม่มีแสงสว่างซึ่งแสงสว่างเกี่ยวข้องกับการมองเห็น ถ้ารอบๆตัวเราไม่มีแสงสว่างก็จะทำให้เรามองไม่เห็น"
แสงสว่างเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง แสงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมาก 300,000 กิโลเมตร/วินาที แสงจะช่วยเราในการมองเห็นได้
วิธีการทดลองการเดินทางของแสง
1.นำกล่องเจาะรูตรงกลาง นำตุ๊กตาใส่ลงในกล่องแล้วปิดฝา ถ้าเรามองไปเราก็จะไม่เห็นอะไรเลย
2.คราวนี้เอาฝากล่องออกเราก็จะมองเห็นตุ๊กตา
3.เจาะรูอีกรู เอาไฟฉายส่องเขาไปเราก็จะมองเห็นวัตถุ
-ที่เรามองเห็นวัตถุต่างๆรอบๆตัวได้ คือ แสงลงมาส่องวัตถุแล้วแสงของวัตถุก็จะสะท้อนเข้ามาในตาของเราทำให้เรามองเห็นวัตถุต่างๆได้
-แสงพุ่งเข้ามาหาเรา จะเคลื่อนที่ในลักษณะเป็นเส้นตรงและไม่มีทางเปลี่ยนทิศทางได้
คุณสมบัติของแสงมี 3 ประการคือ วัตถุที่แสงส่องผ่านได้และไม่ได้หรือเรียกว่า
1.วัตถุโปร่งแสง แสงทะลุผ่านวัตถุได้บางชนิดเท่านั้น เช่น กระจกมัวๆ
2.วัตถุโปร่งใส เช่น กระจกใส พลาสติกใส
3.วัตถุทึบแสง จะดูดกลืนแสงไว้ เช่น ไม้ หิน เหล็ก แม้กระทั่งตัวเรา
ประโยชน์ของแสง
1.การเคลื่อนที่ของแสงสามารถทำให้เกิดกล้องฉายภาพ

ครั้งที่ 8 วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2554

" แรงดึงดูดของแม่เหล็ก"
เป็นแรงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากแท่งแม่เหล็ก แม่เหล็กสามารถดูดวัตถุบางชนิดได้ วัตถุที่แม่เหล็กดูดนั้น ต้องเป็นวัตถุที่เป็นแม่เหล็กหรือวัตถุที่มีคุณสมบัติคล้ายแม่เหล็กหรือที่เรียกว่า สื่อหรือวัตถุที่เป็นสื่อแม่เหล็ก ได้แก่ วัตถุจำพวกโลหะ เหล็ก นิกเกิล และวัตถุที่ไม่ได้เป็นสื่อแม่เหล็ก เช่น ไม้ แก้ว พลาสติกเป็นต้น
ดั้งนั้น แม่เหล็กจะดูดวัตถุที่เป็นสื่อแม่เหล็ก แม่เหล็กที่ใช้ในปัจจุบันทำมาจากเหล็กซึ่งมีรูปร่างต่างกัน เช่น รูปตัวยู รูปเกือกม้า รูปแท่งสี่เหลี่ยม รูปวงกลมเป็นต้น
ถ้าเรานำแท่งแม่เหล็กทั้ง 2 แท่งเข้าใกล้กัน โดยหันหัวขั้วเดียวกันเข้าหากัน จะเกิดการผลักกันและถ้าหันหัวขั้วต่างกันเข้าหากันจะเกิดการดูดกัน
ประโยชน์ของแม่เหล็ก
1.ใช้ประดิษฐ์เป็นของเล่น ของเล่นหลายชนิดจะมีแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบ
2.ใช้ติดที่ประตูตู้เย็น แม่เหล็กจะถูกใส่ไว้ที่ประตูโดยมีแผ่นยางหุ้มเพื่อทำให้ประตูตู้เย็นปิดสนิท ป้องกันไม่ให้ความเย็นออกมาจากตู้
3.ใช้หาทิศ แม่เหล็กจะหันขั้นวเหนือไปทางทิศเหนือ และจะหันขั้วใต้ไปทางทิศใต้เสมอ ดังนั้นเราจึงใช้แม่เหล็กทำเข็มทิศ

ขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่น "เขาวงกตหรรษา"

























วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 7 วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2554

วันนี้มีการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน
เพื่อนแต่คนนำของเล่นมาเสนอว่าของเล่นของตนเองมีวิธีเล่นอย่างไร และเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไรซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในห้องเรียน ของเล่นแต่ละชิ้นจะมีข้อความรู้ทางวิทยาศาสตร์อยู่ ของดิฉันทำเป็น"หุ่นแม่เหล็กดูุด"
อุปกรณ์
1.ฝากล่องรองเท้าทีเหลือใช้
2.แม่เหล็ก
3.ลวดเสียบกระดาษ
4.กระดาษ
5.สี
6.กาว
วิธีทำ
1.วาดตัวหุ่นคนหรือสัตว์บนกระดาษและตัดออกมา แล้วระบายสีตามใจชอบ
2.ใช้เทปกาวติดลวดเสียบไว้ที่ฐานของหุ่นแต่ละตัว อย่าลืมว่าเราต้องให้หุ่นมีน้ำหนักเบาที่สุด
3.พับส่วนฐานข้างล่างตามแนวเส้นพับ
4.ใช้ฝากล่องรองเท้าซึ่งทำเป็นเวที
5.วางหุ่นบนฝากล่อง ถือแม่เหล็กไว้ข้างใต้กล่องให้แม่เหล็กอยู่ใต้หุ่นตัวใดตัวหนึ่่ง เมื่อเราเลื่อนแม่เหล็กหุ่นตัวนั้นก็จะเคลื่อนตาม
เมื่อนำเสนออาจารย์เสนอแนวทางให้ของเล่นน่าสนใจ โดยการทำเป็นทางเขาวงกตเลื่อนแม่เหล็กแล้วหาทางออกให้เจอ
ของเล่นจะได้เล่นอย่างสนุกมากขึ้น

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 6 วันที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ.2554

ลักษณะของเด็กปฐมวัย
-วัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น
-วัยที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาสูงที่สุด
-แสวงหาความรู้ความสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้
1.ความหมายของทักษะการสังเกต
การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ
-สังเกตรูปร่างทั่วไป
-สังเกตควบคู่กับการวัดปริมาณ
-การสังเกตเพื่อรู้ถถึงการเปลี่ยนแปลง
2.ความหมายทักษะการจำแนกประเภท
ความสามารถในการแบ่งประเภทต่างๆ(โดยตั้งเกณฑ์การแบ่ง และนำสิ่งนั้นไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์)
-ความเหมือน
-ความแตกต่าง
-ความสัมพันธ์ร่วม
3.ความหมายทักษะการวัด
การใช้เครื่องมือวัดหรือหาปริมาณ โดยมีหน่วยกำกับ
แบบเป็นทางการ เช่น ไม้บรรทัด ตลับเมตร
แบบไม่เป็นทางการใช้สำหรับเด็กปฐมวัย เช่น ใช้แขน ขา มือ วัดความยาว
-รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
-การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
-วิธีการที่เราจะวัด
4.ความหมายทักษะการสื่อความหมาย

เป็นการสื่อสาร ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ เช่น การพูด การเขียน วาดรูป และแสดงท่าทางสีหน้า
-บรรยายความหมายและคุณสมบัติของวัตถุ
-บันทึกการเปลี่ยนแปลงได้
-บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ(ระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน)
-จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น แผนภาพ กราฟข้อมูล
5.ความหมายทักษะการลงความเห็นของข้อมูล
คือการสรุปจากที่เราจดบันทึกแล้วแสดงความคิดเห็นลงไปโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
6.ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
คือการรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติการเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดขึ้นบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย
7.ความหมายทักษะการคำนวณ
ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก การคูณ การหาร การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
-การนับจำนวนของวัตถุ
-การบวก ลบ คูณ หาร

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 5 วันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ.2554

วันนี้มีการนำเสนองานและการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
- เพื่อนออกมานำเสนอรายงานเรื่องหลักการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
บรรยากาศ:อาจารย์แนะนำเรื่องการนำเสนองานควรนำเสนอแบบแปลกใหม่ มีการยกตัวอย่างให้เข้าใจในประเด็นนั้นๆ และกระบวนการนำเสนอควรเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
กระบวนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
การหาวัสดุอุปกรณ์ คือครูผู้สอนควรจัดลำดับขั้นความสำคัญของการหาวัสดุอุปกรณ์ดังนี้
ขั้นที่ 1 ต้องให้เด็ดเห็นของจริง
ขั้นที่ 2 ต้องให้เด็กเห็นของจำลอง
ขั้นที่ 3 ต้องให้เด็กเห็นรูปภาพ ภาพวาด
ขั้นที่ 4 ต้องให้เด็กเห็นตัวหนังสือเป็นลำดับสุดท้าย

ถ้าการหาวัสดุอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ควรใช้เป็นภาพเพราะเด็กจะเข้าใจง่ายกว่าตัวหนังสือ
การดำเนินกิจกรรม(เป็นลำดับขั้นตอน)
1.ตั้งสมมติฐาน(เด็กตั้งสมมติฐานได้ครูตั้งคำถามต่อเด็ก)
2.การทดลอง
3.จดบันทึกผล
4.สรุปผล
5.นำผลไปเทียบเคียงกับสมมติฐาน
สรุป:การทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์กระบวนการแรกเด็กตั้งสมมติฐานจากการที่ครูตั้งคำถาม และทดลองเป็นการลงมือปฏิบัติ จากนั้นจดบันทึกผล สรุปผลและนำผลไปเทียบเคียงกับสมมติฐานทำให้เด็กได้ข้อเท็จจริง ได้ข้อความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากการสังเกต

ครั้งที่ 4 วันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ.2554

วันนี้นำเสนองาน Power point เรื่องจิตวิทยาการเรียนรู้
นำเสนองานกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ เรื่องขวดเป่าลูกโป่ง
เด็กได้เรียนรู้ว่าสิ่งสองสิ่งทำปฏิกริยาต่อกันจนทำลูกโป่งโตขึ้น
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์:ถ้าจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก อาจนำน้ำอัดลมใส่ลูกอมลงไปเกิดการกัดกร่อน จนลูกอมหายไปเพียงแค่ไม่กี่นาทีมาทดลองให้เด็กๆดู ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเด็กโดยตรงเพราะลูกอมเปรียบเสมือนกระเพาะของคนเราถ้าเด็กกินน้ำอัดลมมากก็จะกัดกระเพาะและทำให้ฟันผุได้เพราะน้ำอัดลมมีน้ำตาลมาก ซึ่งเด็กจะได้ข้อความรู้เกี่ยวกับโทษของน้ำอัดลม
บรรยากาศในห้องเรียน:วันนี้รู้สึกเครียดเนื่องจากงานที่นำเสนอเรื่องจิตวิทยาการเรียนรู้ไม่สามารถเปิด Power point ได้ และกลุ่มไม่ได้เตรียมความพร้อมมาจึงไม่สามารถสรุปงานได้ แต่ได้ข้อเสนอแนะจากอาจารย์จึงเป็นแนวทางในการปรับปรุงและเตรียมงานครั้งต่อไป

คร้งที่ 3 วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2554

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การฝึกฝนให้เด็กมีโอกาสได้ทำกิจกรรม จนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต การแสดงปริมาณ การจำแนกประเภท การสื่อความหมาย การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสเวลาเป็นต้น

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 2 วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2554

สรุปองค์ความรู้











บรรยากาศการเรียนวันนี้:วันนี้อาจารย์เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตอบและสรุปองค์ความรู้ร่วมกันเพื่อนทุกคนสนุกสนานที่ได้เรียนกับอาจารย์มาก

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ครั้งที่ 1 วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2554











ความหมายและความสำคัญของวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประสบการณ์ คือ การเรียนรู้ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดการรับรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5และเรียนรู้เพื่อการอยู่รอดในการดำรงชีวิต
การจัด คือ การวางแผนออกแบบได้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

บรรยากาศการเรียนวันนี้:วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนอาจารย์เป็นกันเองเหมือนวิชาที่ผ่านมา และอาจารย์จะกระตุ้นให้เด็กเกิดองค์ความรู้โดยการใช้คำถามและการให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียนทุกคน